Back Icon

คำถามที่พบบ่อย

Minimalist UI Search Element

ข้อดีของการติดฟิล์ม

  • ช่วยลดความร้อน ลดการทำงานของแอร์ และช่วยประหยัดค่าไฟ
  • ช่วยป้องกันรังสี UV ที่มีอันตรายต่อร่างกายและผิวหนัง อันเป็นสาเหตุให้เกิดฝ้าและมะเร็งผิวหนัง
  • ช่วยป้องกันเฟอร์นิเจอร์และวัตถุภายในบ้านที่โดนแดดให้ไม่ซีดจางและแห้งกรอบ
  • ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวภายในบ้าน ให้คนนอกมองเข้ามาไม่เห็นภายในบ้าน กรณีเลือกติดฟิล์มสะท้อนความร้อนหรือฟิล์มดำกันร้อน
  • ช่วยป้องกันอุบัติเหตุ เนื่องจากฟิล์มกรองแสงนั้นมีชั้นกาวที่ช่วยยึดเกาะกระจกไว้ได้ในกรณีที่กระจกแตกจากอุบัติเหตุต่างๆ
  • ช่วยป้องกันความร้อนได้ดีกว่าการติดม่านเพียงอย่างเดียว เพราะม่านสามารถกันแสงได้แต่ไม่สามารถกันความร้อนที่มาจากแสงได้
Minimalist UI Search Element

การเลือกชนิดฟิล์ม

ควรเลือกชนิดฟิล์มให้เหมาะสมกับสถานที่และการใช้ประโยชน์ในส่วนนั้น โดยคำนึงถึงสีของกระจก ความเข้มและการสะท้อนของแสงที่อาจจะรบกวนผู้อื่น โดยอาจเผื่อความเข้มไว้บ้าง เนื่องจากฟิล์มจะมีความเข้มลดลงตามกาลเวลาและตามชนิดของฟิล์ม


การติดฟิล์มบ้านหรืออาคารไม่จำเป็นต้องใช้ฟิล์มชนิดเดียวกันหรือความเข้มเดียวกันทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละพื้นที่ แต่อาจจะมีเศษของฟิล์มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

Minimalist UI Search Element

วิธีการคำนวณฟิล์มที่ใช้

ในการคำนวณฟิล์มที่ใช้ เราจะวัดขนาดความกว้างและความสูงของกระจกแต่ละบาน โดยวัดขอบด้านในส่วนที่เป็นกระจก และต้องปัดเศษขึ้นไม่ให้ฟิล์มขาด เช่น 72.3 ซม.ให้ปัดเป็น 73 ซม.


การคำนวณจะแปลงขนาดเป็นหน่วยนิ้วและพื้นที่เป็นตารางฟุต การคำนวณฟิล์มที่ใช้จริงมักจะมากกว่าที่วัดเนื่องจากมีเศษของฟิล์มซึ่งเกิดจากการตัดจากม้วนฟิล์มมาตรฐานที่มีหน้ากว้าง 60 นิ้ว (หรือประมาณ 150 ซม.)


ในการเตรียมฟิล์มมักจะไม่นิยมการต่อฟิล์ม แต่หากขนาดฟิล์มทั้งด้านกว้างและด้านสูงเกิน 60 นิ้ว ก็จำเป็นจะต้องมีการต่อฟิล์ม ซึ่งอาจจะต่อฟิล์มแนวตั้งหรือแนวนอนขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่

วิธีวัดขนาดพื้นที่ติดฟิล์ม

เพื่อประเมินราคา

  • วัดขนาด “ความกว้าง” และ “ความสูง” ของกระจกแต่ละบาน โดยวัดเฉพาะขอบด้านในที่เป็นกระจก (ไม่รวมขอบวงกบ)


  • วัดแยกแต่ละบาน


  • ปัดเศษขึ้นไม่ให้ฟิล์มขาด

(เช่น 72.3 cm ให้ปัดเป็น 73 cm)

Minimalist UI Search Element

สีของกระจกหลังจากติดตั้งฟิล์ม

เมื่อมองจากภายนอกสีของกระจกจะเปลี่ยนไปตามชนิดของฟิล์ม เช่น

  • ในกรณีที่เป็นกระจกสีเขียว หากติดฟิล์มดำหรือฟิล์ม Ceramic ที่ไม่สะท้อนด้านนอก หลังติดฟิล์มกระจกจะเป็นสีเทาดำ
  • ในกรณีที่เป็นกระจกสีเขียว หากติดเป็นฟิล์มสะท้อนความร้อน กระจกจะมองดูเป็นสีเขียวสดขึ้นตามสีของกระจก
  • ส่วนภายใน แสงจะลดลงตามความเข้มและชนิดของฟิล์ม
Minimalist UI Search Element

ระยะเวลาในการติดตั้งฟิล์ม

  • กรณีที่เป็นคอนโดขนาดเล็ก ใช้เวลาติดตั้งฟิล์มประมาณ 2-4 ชั่วโมง
  • กรณีที่เป็นบ้าน หรือคอนโดขนาดกลาง ใช้เวลาติดตั้งฟิล์มประมาณ ครึ่งวัน ถึง 1 วัน
  • ระยะเวลาติดตั้งขึ้นอยู่กับจำนวนบานกระจก ความยากง่ายของการติดตั้ง และอุปสรรคของการเข้าถึงการติดกระจก เช่น กระจกสูงที่อาจต้องใช้นั่งร้าน ผ้าม่าน เหล็กดัด เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ที่ต้องเคลื่อนย้ายออกก่อน หรือมีฟิล์มเก่าที่ต้องใช้เวลาลอกออกก่อน รวมถึงพื้นไม้ที่อาจต้องคอยดูแลน้ำจากการติดตั้ง
Minimalist UI Search Element

คำแนะนำการดูแลหลังการติดตั้งฟิล์ม

  • ควรหลีกเลี่ยงการเช็ดกระจก 3-7 วัน เพื่อรอให้ฟิล์มแห้งสนิทก่อน
  • คราบหยดน้ำที่อาจพบได้บ้างหลังจากการติดฟิล์มจะค่อยๆ ระเหยไปเองใน 3-7 วัน
  • ห้ามใช้น้ำยาเช็ดกระจกที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนผสมโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ชั้นกันรอยขีดข่วนของฟิล์มที่เคลือบผิวไว้นั้นเสียหาย รวมถึงห้ามใช้แผ่นขัดต่างๆ ที่อาจทำให้เนื้อฟิล์มเป็นรอย
  • การทำความสะอาดฟิล์มให้ใช้ผ้านุ่ม ผ้าไมโครไฟเบอร์หรือทิชชู่ ลูบวนเบาๆ หากมีคราบมันอาจชุบน้ำยาเช็ดกระจกชนิดที่ไม่มีแอมโมเนียช่วย
Minimalist UI Search Element

การรับประกันฟิล์ม

  • ระยะเวลารับประกัน ตามชนิดของฟิล์มตามที่ระบุไว้
  • เงื่อนไขการรับประกัน: รับประกันเปลี่ยนฟิล์มจากการใช้งานสภาพปกติ หากเนื้อฟิล์มเกิดการบวมพอง ลอกล่อน แตกร้าว เป็นฟองอากาศ เป็นคลื่น ขรุขระเป็นเม็ด หรือซีดจางเร็วกว่าที่ควร โดยมีสาเหตุจากความบกพร่องของเนื้อฟิล์ม
  • ยกเว้นการรับประกัน: หากเนื้อฟิล์มถูกกระทำการให้เสียหายโดยเจตนา มีความเสียหายอันเนื่องมาจากการ ขัด ขูด ลอก รวมถึงการใช้งานดูแลรักษาไม่ถูกต้อง หรือกรณีกระจกแตก บริษัทฯ ไม่สามารถรับประกันให้ท่านได้
Light Bulb Tips Text Box

เกร็ดความรู้เบื้องต้น

เกี่ยวกับฟิล์มกรองแสง

พลังงานแสงอาทิตย์ประกอบด้วย:

  • แสงที่ตามนุษย์มองเห็น (Visible Light) 44% ได้แก่ แสงสว่างหรือแสงแดด มีความยาวคลื่นซึ่งเราสามารถมองเห็นได้คือ แสงสีม่วงจนถึงสีแดง หรือที่เรารู้จักกันว่าแสงสีรุ้งเวลาที่มันหักเห
  • แสงที่ตามองไม่เห็น (Invisible Light) เป็นช่วงที่มีความยาวคลื่นซึ่งมนุษย์มองไม่เห็น ประกอบด้วย รังสีเหนือม่วงหรืออุลตร้าไวโอเล็ต (UV) 3% และรังสีอินฟราเรด (IR) หรือรังสีใต้แดง 53%

ความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลกเกิดจากการที่แสงเดินทางด้วยความเร็วสูงมากผ่านชั้นบรรยากาศ จึงเกิดความร้อนตามองค์ประกอบข้างต้น การลดความร้อนรวมจากแสงแดดเป็น % (Total Solar Energy rejected) หรือ TSER ได้จากผลรวมของการลดความร้อนที่เกิดขึ้นจากส่วนประกอบต่างๆ คือแสงที่เรามองเห็นหรือแสงแดด รวมทั้ง UV และ IR ค่า TSER สูงหมายถึงลดความร้อนรวมจากแสงแดดได้มาก

โดยทั่วไปฟิล์มกันร้อนควรจะมีอยู่ในระดับ 50-80% จะช่วยในการลดพลังงานและลดค่าไฟฟ้าได้ดี จะเห็นได้ว่าตัวการสำคัญของความร้อนมากที่สุดคือ รังสีอินฟราเรดหรือ IR ซึ่งมีองค์ประกอบมากกว่าแสงแดดที่เรามองเห็นเสียอีก ดังนั้นหากต้องการลดความร้อนมากๆ ก็ควรใช้ฟิล์มกรองแสงที่เข้มและกันรังสีอินฟราเรดได้มาก ส่วนอุลตร้าไวโอเล็ต (UV) ซึ่งเป็นรังสีอันตรายนั้น แทบไม่มีผลต่อการลดความร้อนเลย

Light Bulb Tips Text Box

ชนิดของฟิล์มกรองแสง

ฟิล์มกรองแสงประกอบด้วยชั้นพลาสติกชนิดโพลีเอสเตอร์ ชั้นอนุภาคโลหะ ชั้นสี ชั้นกาว ชั้นกันรอยขีดข่วน และชั้นไลน์เนอร์ซึ่งเป็นแผ่นใสรองฟิล์ม ซ้อนกันอยู่มากมายบนแผ่นฟิล์มบางๆ


ฟิล์มกรองแสงดำ ซึ่งมักจะเป็นฟิล์มแถม ราคาถูก ช่วยลดความร้อนเพียงเล็กน้อยตามค่าความเข้มของฟิล์มเท่านั้น สามารถกันรังสีอินฟราเรด (IR) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของการเกิดความร้อนได้น้อยมาก

ฟิล์มกรองแสงลดความร้อน หรือเรียกกันติดปากว่าฟิล์มปรอทนั้น ชั้นของฟิล์มจะหนากว่าเพราะมีชั้นอนุภาคโลหะสะท้อนความร้อนส่วนที่ตามองไม่เห็น ได้แก่รังสีอินฟราเรด (IR) ได้ดี จึงช่วยให้ความร้อนผ่านเข้ามาได้น้อยกว่าฟิล์มดำมาก ส่วนรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตที่มีอันตรายต่อผิวหนัง อันเป็นสาเหตุให้เกิดฝ้าและมะเร็งผิวหนัง ตลอดจนทำให้เกิดการซีดจางและแห้งกรอบของวัตถุที่โดนแดดนั้นมีเพียง 3% ซึ่งฟิล์มกรองแสงโดยทั่วไปป้องกันได้เกือบหมดอยู่แล้ว ฟิล์มทั่วไปจึงมักจะมีสเปคกัน UV 99%


ฉะนั้นในการพิจารณาว่าฟิล์มใดลดความร้อนจากแสงแดด (Total Solar Energy Rejected) ได้มากหรือน้อย จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบโดยรวมข้างต้นด้วย


ในส่วนของฟิล์มกรองแสงสำหรับรถยนต์นั้น กระจกบานข้างกับกระจกหลังมักจะใช้สีเดียวกันตามความเข้มของแสงที่ต้องการ แต่ในส่วนบานหน้านั้นมักนิยมใช้ฟิล์มโทนสีเดียวกัน แต่ควรให้แสงส่องผ่านได้ประมาณ 40% ขึ้นไปเพื่อทัศนวิสัยและความปลอดภัยในการขับขี่โดยเฉพาะในยามค่ำคืน


Back Icon